วันจันทร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2551

วันเสาร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2551

จุดประสงค์การเรียนรู้คณิต ป.4 เทอม ต้น

บทที่ 1 จำนวนนับที่มากกว่า 100,000

สาระสำคัญ

1. จำนวนนับที่เขียนแทนด้วยตัวเลขที่มีหกหลัก ตัวเลขทางซ้ายมือของหลักหมื่นอยู่ในหลักแสน
2. จำนวนนับที่เขียนแทนด้วยตัวเลขที่มีเจ็ดหลัก ตัวเลขทางซ้ายมือของหลักแสนอยู่ในหลักล้าน
3. จำนวนนับที่เขียนแทนด้วยตัวเลขมากกว่าเจ็ดหลัก ตัวเลขทางซ้ายมือของหลักล้านเรียง
ตามลำดับจากขวาไปซ้าย อยู่ในหลักสิบล้าน ร้อยล้าน พันล้าน ...
4. การเขียนแสดงจำนวนนับใดๆในรูปกระจาย เป็นการเขียนในรูปการบวกค่าของตัวเลขในหลักต่างๆของจำนวนนั้น
5. จำนวนสองจำนวนเมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน จะเท่ากัน มากกว่ากัน หรือน้อยกว่ากันอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวเท่านั้น


จุดประสงค์การเรียนรู้ หลังจากศึกษาบทเรียนนี้จบแล้ว นักเรียนควรจะสามารถแสดงพฤติกรรมต่อไปนี้ได้

1. เมื่อกำหนดจำนวนนับที่มากกว่า 100,000 ให้ สามารถอ่านและเขียนตัวหนังสือ ตัวเลขฮินดูอารบิกตัวเลขไทยแทนจำนวนได้
2. เมื่อกำหนดจำนวนนับที่มากกว่า 100,000 ให้ สามารถบอกค่าของตัวเลขในแต่ละหลักและเขียนในรูปกระจายได้
3. สามารถเปรียบเทียบจำนวนนับที่มากกว่า 100,000 และใช้เครื่องหมายแสดงการเปรียบเทียบได้
4. เมื่อกำหนดจำนวนนับที่มากกว่า 100,000 ให้สามถึงห้าจำนวน สามารถเรียงลำดับจำนวนได้
5. เมื่อกำหนดแบบรูปของจำนวนนับที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงครั้งละเท่าๆกัน สามารถหาจำนวนต่อไปที่อยู่ในแบบรูปที่กำหนดให้ และบอกความสัมพันธ์ได้



บทที่ 2 การบวกและการลบ

สาระสำคัญ
1. การบวกจำนวนมากกว่าสองจำนวนให้บวกทีละสองจำนวน
2. การลบมีความสัมพันธ์กับการบวก กล่าวคือ ผลลบของจำนวนสองจำนวนใดๆเมื่อบวกกับตัวลบจะเท่ากับตัวตั้ง


จุดประสงค์การเรียนรู้ หลังจากศึกษาบทเรียนนี้จบแล้ว นักเรียนควรจะสามารถแสดงพฤติกรรมต่อไปนี้ได้
1. เมื่อกำหนดโจทย์การบวกให้ สามารถหาคำตอบ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้ และแสดงวิธีทำได้
2. เมื่อกำหนดโจทย์การลบให้ สามารถหาคำตอบ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้ และแสดงวิธีทำได้
3. เมื่อกำหนดโจทย์ปัญหาการบวกให้ สามารถวิเคราะห์โจทย์ หาคำตอบ และแสดงวิธีทำ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้
4. เมื่อกำหนดโจทย์ปัญหาการลบให้ สามารถวิเคราะห์โจทย์ หาคำตอบ และแสดงวิธีทำ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้
5. เมื่อกำหนดสถานการณ์ให้ สามารถสร้างโจทย์และโจทย์ปัญหา พร้อมทั้งหาคำตอบและแสดงวิธีทำได้


บทที่ 3 เรขาคณิต

จุดประสงค์การเรียนรู้ หลังจากศึกษาบทเรียนนี้จบแล้ว นักเรียนควรจะสามารถแสดงพฤติกรรมต่อไปนี้ได้
1. เมื่อกำหนดจุดให้หนึ่งจุดหรือสองจุด สามารถเขียนเส้นตรง ส่วนของเส้นตรง หรือรังสีผ่านจุดที่กำหนดให้ได้
2. เมื่อกำหนดมุมให้ สามารถบอกชื่อมุม จุดยอดมุม และแขนของมุมได้
3. เมื่อกำหนดมุมให้ สามารถใช้สิ่งของที่มีลักษณะเป็นมุมฉากช่วยในการให้เหตุผลว่า มุมใดเป็นมุมฉากมุมแหลม หรือมุมป้าน
4. เมื่อกำหนดรูปสี่เหลี่ยมหรือสิ่งของที่มีส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมให้ สามารถบอกได้ว่ารูปใดหรือส่วนใดของสิ่งของนั้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก
5. เมื่อกำหนดรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากให้ สามารถจำแนกได้ว่าเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
6. เมื่อกำหนดเส้นตรงหรือส่วนของเส้นตรงตั้งแต่สองเส้นขึ้นไปที่อยู่บนระนาบเดียวกันให้ สามารถบอกได้ว่าเส้นตรง หรือส่วนของเส้นตรงคู่ใดขนานกัน
7. เมื่อกำหนดรูปวงกลมให้ สามารถบอกส่วนประกอบของรูปวงกลมได้
8. เมื่อกำหนดรูปวงกลมและจุดศูนย์กลางให้ สามารถหาความยาวของรัศมี และบอกได้ว่ารัศมีของรูปวงกลมเดียวกันยาวเท่ากัน
9. เมื่อกำหนดรูปเรขาคณิตสองมิติให้ สามารถบอกได้ว่ารูปใดเป็นรูปที่มีแกนสมมาตรและบอกแกน
สมมาตรได้
10. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์โดยนำรูปเรขาคณิตมาประดิษฐ์เป็นลวดลายต่าง ๆ ได้
11. เมื่อกำหนดแบบรูปของรูปเรขาคณิตหรือแบบรูปอื่น ๆ สามารถบอกรูปต่อไปที่อยู่ในแบบรูปที่กำหนดให้ และบอกความสัมพันธ์ได้


บทที่ 4 การคูณ

สาระสำคัญ
1. การคูณจำนวนที่มีหนึ่งหลักกับจำนวนที่มีหลายหลัก อาจทำได้โดยคูณจำนวนในหลักหน่วยก่อนแล้วจึงคูณจำนวนในหลักถัดไปทางซ้ายมือ ตามลำดับ
2. ถ้าผลคูณในแต่ละหลักเป็นจำนวนที่มีสองหลัก ให้ทดไปหลักถัดไปทางซ้ายมือ
3. การคูณจำนวนที่มีหลายหลักสองจำนวน อาจอาศัยการกระจายจำนวนหนึ่งตามค่าประจำหลักแล้วนำจำนวนในแต่ละหลักไปคูณกับอีกจำนวนหนึ่ง จากนั้นจึงนำผลคูณที่ได้มาบวกกัน


จุดประสงค์การเรียนรู้ หลังจากศึกษาบทเรียนนี้จบแล้ว นักเรียนควรจะสามารถแสดงพฤติกรรมต่อไปนี้ได้
1. เมื่อกำหนดโจทย์การคูณจำนวนที่มีหนึ่งหลักกับจำนวนที่มากกว่าสี่หลักให้ สามารถหาคำตอบพร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้ และแสดงวิธีทำได้
2. เมื่อกำหนดโจทย์การคูณจำนวนที่มากกว่าหนึ่งหลักกับจำนวนที่มากกว่าสองหลักให้ สามารถหาคำตอบพร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้ และแสดงวิธีทำได้
3. เมื่อกำหนดโจทย์ปัญหาการคูณจำนวนที่มีหนึ่งหลักกับจำนวนที่มากกว่าสี่หลักให้ สามารถวิเคราะห์โจทย์ หาคำตอบและแสดงวิธีทำ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้
4. เมื่อกำหนดโจทย์ปัญหาการคูณจำนวนที่มากกว่าหนึ่งหลักกับจำนวนที่มากกว่าสองหลักให้ สามารถวิเคราะห์โจทย์ หาคำตอบและแสดงวิธีทำ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้
5. เมื่อกำหนดสถานการณ์ให้ สามารถสร้างโจทย์และโจทย์ปัญหา พร้อมทั้งหาคำตอบและแสดงวิธีทำได้


บทที่ 5 การหาร

สาระสำคัญ
1. การหาร ตัวตั้ง ตัวหาร ผลหาร และเศษ มีความสัมพันธ์กัน ดังนี้ ตัวตั้ง = ( ตัวหาร × ผลหาร ) + เศษ
2. การหารเมื่อ เศษเป็นศูนย์ เรียกว่า การหารลงตัว และเมื่อ เศษมากกว่าศูนย์ เรียกว่า การหารไม่ลงตัวซึ่งเศษนั้นต้องมากกว่าหรือเท่ากับศูนย์ แต่ต้องน้อยกว่าตัวหาร


จุดประสงค์การเรียนรู้ หลังจากศึกษาบทเรียนนี้จบแล้ว นักเรียนควรจะสามารถแสดงพฤติกรรมต่อไปนี้ได้
1. เมื่อกำหนดโจทย์การหารที่ตัวหารมีหนึ่งหลักให้ สามารถหาคำตอบ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้ และแสดงวิธีทำได้
2. เมื่อกำหนดโจทย์การหารที่ตัวหารมีสองหลักให้ สามารถหาคำตอบ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้ และแสดงวิธีทำได้
3. เมื่อกำหนดโจทย์การหารที่ตัวหารมีสามหลักให้ สามารถหาคำตอบ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้ และแสดงวิธีทำได้
4. เมื่อกำหนดโจทย์ปัญหาการหารที่ตัวหารไม่เกินสามหลักให้ สามารถวิเคราะห์โจทย์ หาคำตอบ และแสดงวิธีทำ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้
5. เมื่อกำหนดสถานการณ์ให้ สามารถสร้างโจทย์และโจทย์ปัญหาการหาร พร้อมทั้งหาคำตอบ และแสดงวิธีทำได้



บทที่ 6 สถิติและความน่าจะเป็นเบื้องต้น

สาระสำคัญ
1. แผนภูมิรูปภาพเป็นการใช้จำนวนรูปภาพเพื่อบอกปริมาณของข้อมูล โดยรูปภาพที่แทนสิ่งเดียวกันต้องเป็นรูปภาพที่เหมือนกันและมีขนาดเท่ากัน
2. แผนภูมิแท่งเป็นการใช้รูปสี่เหลี่ยมมุมฉากแสดงจำนวนหรือปริมาณของสิ่งต่าง ๆ โดยให้ความสูงหรือความยาวของแต่ละรูปแสดงจำนวนแต่ละรายการ รูปสี่เหลี่ยมมุมฉากทุกรูปต้องมีความกว้างเท่ากัน และเริ่มต้นจากระดับเดียวกัน
3. การบอกความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆกับจำนวนในรูปตารางเป็นการจัดตัวเลขแทนจำนวนของสิ่งต่างๆอย่างมีระเบียบในตาราง เพื่อให้อ่านและเปรียบเทียบง่ายขึ้น
4. ความน่าจะเป็นเบื้องต้น หมายถึง โอกาสที่เหตุการณ์นั้น ๆ จะเกิดขึ้น ซึ่งเหตุการณ์นั้น อาจจะ“เกิดขึ้นอย่างแน่นอน” อาจจะ “เกิดขึ้นหรือไม่ก็ได้” หรือ “ไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน”


จุดประสงค์การเรียนรู้ หลังจากศึกษาบทเรียนนี้จบแล้ว นักเรียนควรจะสามารถแสดงพฤติกรรมต่อไปนี้ได้
1. เมื่อกำหนดแผนภูมิรูปภาพให้ สามารถอ่านข้อมูลและอภิปรายประเด็นต่าง ๆ ได้
2. เมื่อกำหนดแผนภูมิแท่งให้ สามารถอ่านข้อมูลและอภิปรายประเด็นต่าง ๆ ได้
3. เมื่อกำหนดประเด็นต่าง ๆ ให้ สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้
4. เมื่อกำหนดข้อมูลให้ สามารถเขียนแผนภูมิรูปภาพได้
5. เมื่อกำหนดข้อมูลให้ สามารถเขียนแผนภูมิแท่งได้
6. เมื่อกำหนดตารางข้อมูลให้ สามารถอ่านข้อมูลและอภิปรายประเด็นต่าง ๆ ได้
7. เมื่อกำหนดเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งให้ สามารถบอกได้ว่าเหตุการณ์นั้น เกิดขึ้นอย่างแน่นอนอาจจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ได้ หรือไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน


บทที่ 7 การวัด

สาระสำคัญ
1. การวัดความยาว ความสูง และระยะทาง
1.1 การวัดความยาว ความสูง และระยะทางต้องวัดให้ถูกวิธี และควรเลือกใช้เครื่องวัดและหน่วยการวัดที่เป็นมาตรฐานให้เหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการจะวัด
1.2 ความยาว ความสูง หรือระยะทาง 10 มิลลิเมตร เท่ากับ ความยาว ความสูงหรือระยะทาง 1 เซนติเมตร ตามลำดับ ความยาว ความสูง หรือระยะทาง 100 เซนติเมตร เท่ากับ ความยาว ความสูงหรือระยะทาง 1 เมตร ตามลำดับความยาว ความสูง หรือระยะทาง 1,000 เมตร เท่ากับ ความยาว ความสูงหรือระยะทาง 1 กิโลเมตร ตามลำดับ
1.3 วา เป็นหน่วยที่ใช้บอกความยาวของไทยความยาว 1 วา เท่ากับ ความยาว 2 เมตร
1.4 การคาดคะเนความยาว ความสูง หรือระยะทางของสิ่งต่างๆ เป็นการบอกความยาวความสูง หรือระยะทางให้ได้ใกล้เคียงความเป็นจริงโดยไม่ใช้เครื่องวัด
1.5 การเขียนรูปเพื่อแสดงความยาว ความสูง หรือระยะทาง อาจใช้มาตราส่วนย่อให้สั้นลงได้
2. การวัดน้ำหนัก
2.1 การชั่งต้องชั่งให้ถูกวิธีและควรเลือกใช้เครื่องชั่งและหน่วยการชั่งที่เป็นมาตรฐานให้เหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการจะชั่ง
2.2 น้ำหนัก 1 เมตริกตัน (ตัน) เท่ากับ น้ำหนัก 1,000 กิโลกรัม
น้ำหนัก 1 กิโลกรัม เท่ากับ น้ำหนัก 1,000 กรัม
น้ำหนัก 1 ขีด เท่ากับ น้ำหนัก 100 กรัม
น้ำหนัก 1 กิโลกรัม เท่ากับ น้ำหนัก 10 ขีด
2.3 การคาดคะเนน้ำหนักของสิ่งต่างๆเป็นการบอกน้ำหนักให้ได้ใกล้เคียงความเป็นจริงโดยไม่ใช้เครื่องชั่ง
3. การวัดปริมาตร
3.1 การตวงต้องตวงให้ถูกวิธี และควรเลือกใช้หน่วยการตวงที่เป็นมาตรฐานให้เหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการจะตวง
3.2 ปริมาตรหรือความจุ 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร เท่ากับ ปริมาตรหรือความจุ 1 มิลลิลิตร

ปริมาตรหรือความจุ 1 ลิตร เท่ากับ ปริมาตรหรือความจุ 1,000 มิลลิลิตร
ปริมาตรหรือความจุ 1 ลิตร เท่ากับ ปริมาตรหรือความจุ 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร


3.3 ถัง เกวียน เป็นหน่วยที่ใช้บอกปริมาตรหรือความจุของไทย
ปริมาตรหรือ ความจุ 1 ถัง เท่ากับปริมาตรหรือความจุ 20 ลิตร
ปริมาตรหรือความจุ 1 เกวียน เท่ากับปริมาตรหรือความจุ 100 ถัง
ปริมาตรหรือความจุ 1 เกวียน เท่ากับปริมาตรหรือความจุ 2,000 ลิตร
3.4 การคะเนปริมาตรสิ่งของหรือความจุของภาชนะเป็นการบอกปริมาตรหรือความจุให้ได้ใกล้เคียงความเป็นจริงโดยไม่ใช้เครื่องตวง


จุดประสงค์การเรียนรู้ หลังจากศึกษาบทเรียนนี้จบแล้ว นักเรียนควรจะสามารถแสดงพฤติกรรมต่อไปนี้ได้
1. เมื่อกำหนดสถานการณ์การวัดความยาวให้ สามารถวัดความยาว ความสูง หรือระยะทาง และบอกความยาว ความสูง หรือระยะทางเป็น กิโลเมตร เมตร เซนติเมตร มิลลิเมตร วา และแก้ปัญหาได้
2. เมื่อกำหนดสถานการณ์การวัดความยาวให้ สามารถเลือกใช้เครื่องวัดและหน่วยวัดความยาวความสูง หรือระยะทางที่เป็นมาตรฐานได้อย่างเหมาะสม
3. เมื่อกำหนดสถานการณ์การวัดความยาวให้ สามารถคาดคะเนความยาวเป็นกิโลเมตร เมตรเซนติเมตร และวา พร้อมทั้งอภิปรายเกี่ยวกับค่าที่ได้จากการคาดคะเน กับค่าที่ได้จากการวัดได้
4. เมื่อกำหนดรูปที่ย่อส่วนและมาตราส่วนให้ สามารถหาความยาว ความสูง หรือระยะทางจริงได้
5. เมื่อกำหนดความยาว ความสูง หรือระยะทาง เป็นกิโลเมตร เมตร เซนติเมตร มิลลิเมตรหรือวาให้ สามารถบอกความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยการวัดนั้นได้
6. เมื่อกำหนดโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับการวัดความยาว ความสูง หรือระยะทางให้ สามารถวิเคราะห์-โจทย์ หาคำตอบ และแสดงวิธีทำได้
7. เมื่อกำหนดสถานการณ์การชั่งให้ สามารถชั่ง และบอกน้ำหนักเป็นกิโลกรัม กรัมและขีดและแก้ปัญหาได้
8. เมื่อกำหนดสถานการณ์การชั่งให้ สามารถเลือกเครื่องชั่งและหน่วยการชั่งที่เป็นมาตรฐานได้อย่างเหมาะสม
9. เมื่อกำหนดสถานการณ์การชั่งให้ สามารถคาดคะเนน้ำหนักเป็นกิโลกรัม กรัม และขีดพร้อมทั้งอภิปรายเกี่ยวกับค่าที่ได้จากการคาดคะเนกับค่าที่ได้จากการชั่งได้
10. เมื่อกำหนดน้ำหนักเป็น เมตริกตัน กิโลกรัม กรัม และขีดให้ สามารถบอกความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยน้ำหนักได้
11. เมื่อกำหนดโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับน้ำหนักให้ สามารถวิเคราะห์โจทย์ หาคำตอบ และแสดงวิธีทำได้
12. เมื่อกำหนดสถานการณ์การตวงให้ สามารถตวงและบอกปริมาตร หรือความจุเป็นลูกบาศก์เมตรลูกบาศก์เซนติเมตร ลิตร มิลลิลิตร ถัง และแก้ปัญหาได้
13. เมื่อกำหนดสถานการณ์การตวงให้ สามารถเลือกหน่วยการตวงที่เป็นมาตรฐานได้อย่างเหมาะสม
14. เมื่อกำหนดสถานการณ์การตวงให้ สามารถคาดคะเนปริมาตรหรือความจุเป็นลิตรพร้อมทั้งอภิปรายเกี่ยวกับค่าที่ได้จากการคาดคะเนกับค่าที่ได้จากการตวงได้
15. เมื่อกำหนดปริมาตรหรือความจุเป็นลูกบาศก์เมตร ลูกบาศก์เซนติเมตร ลิตร มิลลิลิตร ถังหรือเกวียนให้ สามารถบอกความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยของปริมาตรหรือความจุได้
16. เมื่อกำหนดโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับปริมาตรหรือความจุให้ สามารถวิเคราะห์โจทย์ หาคำตอบและแสดงวิธีทำได้